มารู้จักระดับความเครียด เครียดแบบนี้อยู่ระดับไหน พร้อมวิธีการรับมือ
เครียดแบบไหน ถึงอันตรายต่อชีวิต..รู้ไหมว่า ความเครียดมีหลายระดับ มารู้จักระดับความเครียด พร้อมสัญญาณอาการเครียดสะสมกันก่อนสายเกินแก้
มารู้จักระดับความเครียด เครียดแบบนี้อยู่ระดับไหน พร้อมวิธีการรับมือ
ความเครียดนั้นเป็นสิ่งที่ติดตัวมนุษย์มาช้านาน ที่คอยเป็นเหมือนสัญญาณเตือนถึงอันตราย และคอยกระตุ้นมนุษย์ให้รับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ในแต่ละวันไปได้อย่างทันท่วงที เพื่อการเอาตัวรอด แต่อย่างไรก็ดี ความเครียดเองสามารถถูกแบ่งไปได้ในหลากหลายระดับ และมีทั้งมุมที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเป็นโทษแก่ตัวเราเองด้วย
โดยหลักแล้ว อ้างอิงจากการศึกษาของ Yerkes และ Dodson (1908) ความเครียดนั้นแบ่งเป็นลำดับได้ทั้งสิ้น 3 ระดับ ตามปริมาณการถูกกระตุ้นโดยความเครียด คือ
· ระดับต่ำ เป็นระดับที่ร่างกายแทบไม่ได้ถูกกระตุ้น อาจทำให้เรารู้สึกขาดแรงจูงใจ และไร้จุดหมายขึ้นมาได้ ดังนั้นการไม่มีความเครียดเลย ก็อาจไม่ใช่ผลดีเสียทีเดียว
· ระดับเหมาะสม เป็นระดับที่ร่างกายจะได้รับการกระตุ้นจากความเครียดแบบปานกลาง เลือดลมสูบฉีด กระปรี้กระเปร่ามากขึ้น ทำให้เราทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ความรู้สึกจะเหมือนมีเป้าหมายที่ต้องทำอยู่เสมอ
· ระดับสูง ความเครียดในระดับนี้จะเริ่มส่งผลอันตรายกับร่างกาย เกิดเป็นความรู้สึกกังวล กลัวว่าจะจัดการสิ่งต่างๆ ไม่ได้ และยังสามารถลามไปถึงการเจ็บป่วยทางร่างกายได้อีกด้วย หากไม่ได้รับการจัดการ
ความเครียดที่อาจกล่าวได้ว่า “เป็นโทษ” นั้น สามารถสังเกตได้ง่าย ๆ จากสุขภาพร่างกายของเราเอง หรือการเช็ค Physical Signs โดยอาการเคียงของการมีความเครียดรุนแรงนั้นจะแสดงอาการ ดังนี้
· ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
· ปวดหัวอย่างรุนแรง หรือไมเกรน
หัวใจเต้นแรงขึ้น หรือมีความดันเลือดสูงขึ้น
และส่วนสำคัญคือ ความเครียดเองก็สามารถส่งผลกับสุขภาพจิตของเราได้เช่นกัน หากเรายังคงอยู่ในสภาวะที่สร้างความเครียดอย่างต่อเนื่อง จนเกิดเป็นเป็นความเครียดอีกประเภทหนึ่งก็คือ “ความเครียดเรื้อรัง” (Acute Stress) ที่อันตรายมากไม่กัน?? เราสามารถสังเกตสัญญาณความเครียดสะสมได้จาก Mental Signs ดังต่อไปนี้
· รู้สึกหมดกำลัง เหนื่อยล้า อ่อนแรงลงจากเดิม
· “หมดไฟ” ในการทำสิ่งต่าง ๆ ที่เคยชื่นชอบ
· ควบคุมอารมณ์ได้ยากลำบาก โกรธง่าย
· มีปัญหาในการควบคุมสมาธิ จำอะไรลำบากกว่าเดิม
จะเห็นได้ว่า ความเครียดสามารถเป็นดาบสองคมให้กับร่างกายของเรา ทั้งเป็นโทษและสิ่งกระตุ้นให้ร่างกายเอาตัวรอดได้ ฉะนั้น การรู้เท่าทันถึงที่มาและอาการของความเครียด จะทำให้เรารู้วิธีจัดการ และใช้ความเครียดกลับให้เกิดประโยชน์ได้