top of page

มะเร็งปอด

ภัยเงียบที่ล่องลอยในอากาศ เช่นฝุ่น PM 2.5 นับได้ว่าเป็นปัญหาใหญ่ และสามารถเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งเต้านมอีกด้วย เราจะหาทางป้องกันได้อย่างไร อ่านเลย

มะเร็งปอด เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ในชายไทย และเป็นอันดับ 1ในหญิงไทย ตรวจพบผู้ป่วยมะเร็งปอดรายใหม่ 17,000 รายต่อปี(เฉลี่ย 50 รายต่อวัน) และเสียชีวิตจากมะเร็งปอด 14,000 รายต่อปี(เฉลี่ย 40 รายต่อวัน) ผู้ป่วยที่มีอาการคือ ไอเรื้อรัง บางครั้งไอมีเสมหะปนเลือด เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เวลามีอาการแล้วตรวจเจอมักจะพบว่าเป็นระยะที่ค่อนข้างรุนแรงแล้ว(ระยะที่ 3-4)


ปัจจัยเสี่ยงเกิดจาก

1. การสูบบุหรี่ กว่า 80% ของการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอดเกี่ยวข้องโดยตรงกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ดังนั้น ผู้สูบบุหรี่ จึงมีแนวโน้มที่จะตรวจพบมะเร็งปอดหรือเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ แม้แต่การสูบบุหรี่เพียงไม่กี่ มวนต่อวัน หรือสูบเป็นบางโอกาสก็ยังสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอดได้


2. ควันบุหรี่มือสอง คือการสูดดมเอาควันบุหรี่จากผู้ที่สูบบุหรี่เข้าไป การสูดดมควันบุหรี่มือสองแม้เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ อาจ ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงตามมาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ต้องอยู่รายล้อมผู้ที่สูบบุหรี่ เช่น เด็กเล็ก ทารก และผู้ที่ ใกล้ชิดหรือบุคคลในครอบครัวของผู้ที่สูบบุหรี่

3. มีประวัติเคยผ่านการฉายรังสีเพื่อรักษามะเร็งมาก่อน บุคคลที่เคยมีประวัติการรักษาด้วยการฉายรังสี เช่น ที่บริเวณส่วน หน้าอก เต้านม หรือเคยฉายรัง เพื่อรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง ฯลฯ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการกลับมาเป็นมะเร็งซ้ำได้อีก ครั้ง

4. มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งปอด (บิดา มารดา พี่ น้อง) อาจเกิดจากสารพันธุกรรมที่ผิดปรกติ รวมไปถึงสภาพแวดล้อมที่ อยู่ด้วยกันก็ทำให้เพิ่มความเสี่ยงไปด้วย



5. การสัมผัสกับก๊าซเรดอน แร่ใยหิน และสารก่อมะเร็งอื่น ๆ(รวมถึง PM2.5) เป็นสารอันตรายที่สามารถฟุ้งกระจาย เป็น มลพิษในอากาศ การหายใจเอาสารพิษดังกล่าวเข้าไปอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอดได้ ก๊าซเรดอน แร่ใยหิน และสารก่อมะเร็งอื่น ๆ มักติดอยู่ตามโครงสร้างอาคาร สถานที่ทำงาน หรือที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตามสารเหล่านี้ สามารถควบคุมได้โดยการเพิ่มระบบระบายอากาศภายในอาคารสถานที่เพื่อช่วยฟอกอากาศ


PM2.5 กับมะเร็งปอด


PM2.5 คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน เกิดจากการเผาไหม้จากโรงงานอุตสาหกรรม การใช้รถยนต์ กระบวนการผลิตไฟฟ้า รวมถึงจากอุตสาหกรรมการผลิตสารเคมีต่างๆ ซึ่งพบกระจายได้มากขึ้นเรื่อยๆในประเทศไทย เมื่อเร็ว ๆ นี้ กลุ่มนักวิทยาศาสตร์จากThe Francis Crick Institute and University College London นำเสนอผลการวิจัย ที่ ESMO congress 2022 พบว่ามลพิษ PM2.5 กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันในเซลล์ของระบบทางเดิน หายใจอย่างมีนัยสำคัญ คนปกติส่วนหนึ่งอาจมีการกลายพันธุ์ของยีน EGFR อยู่แล้วตัวหนื่ง การกลายพันธุ์ของยีน EGFR ตัวที่สองที่ยังปกติอยู่จากมลพิษ PM2.5 เป็นกลไกนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งปอดได้ในเวลาสั้น



PM2.5 กระตุ้นให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอดในผู้ป่วยที่สูบบุหรี่เป็นประจำ การศึกษายังพบอีกว่ามีความ สัมพันธ์กันอย่างมากระหว่างผู้ที่ได้รับ PM2.5 กับการป่วยด้วยโรคมะเร็งปอด แม้แต่ในผู้ที่ไม่มีประวัติการสูบบุหรี่มาก่อน

เราจะดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดมะเร็งปอดได้อย่างไร? ง่ายที่สุดก็คือการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่เราสามารถควบคุมได้ งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่มือสองไม่อยู่ใกล้หรือใน บริเวณเดียวกับผู้ที่สูบบุหรี่ หรือหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้สวมหน้ากากอนามัยเพื่อกรองสารพิษ รวมถึงการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจโดยรวมของเราให้แข็งแรง โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะผัก และผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญ วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายในการต่อสู้ กับอนุมูลอิสระซึ่งเป็นสาเหตุหลักอย่างหนึ่งของโรคมะเร็ง และ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการ เกิดโรคมะเร็ง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและกลไกการทำงานของร่างกายโดยรวม ช่วยปรับปรุงการทำงานของสมอง ช่วย บำบัดอาการเจ็บป่วยเรื้อรังและทุพพลภาพ ทั้งยังช่วยพัฒนาขีดความสามารถในการทำกิจกรรมและป้องกันการหกล้ม และ ยังช่วยเสริมสร้างมวลกระดูกและกล้ามเนื้อให้แข็งแรง และเพิ่มโอกาสในการมีชีวิตที่ยืนยาว



 

โดย นพ.พีรพัฒน์ คงมาลัย


ศัลยแพทย์หัวใจหลอดเลือด และทรวงอก

โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี

bottom of page